เคล็ดลับการสร้างสมาธิในการเรียนรู้

บทความประจำเดือนเดือนมกราคม โดยคุณครูประสพ สิทธิเลิศ

สมาธิ คือ การมีใจจดจ่อในสิ่งที่ทำอย่างแน่วแน่ พร้อมที่จะเรียนรู้การที่เราจะเล่าเรียนหรือทำการงานใดๆ ให้สำเร็จ เราจำเป็นต้องมีสมาธิจดจ่อในการทำสิ่งนั้นเราจึงจะเข้าใจบทเรียนและสามารถใช้ความคิดในการทำงานให้สำเร็จ

คนบางคนมีพื้นฐานสมาธิดีแต่กำเนิด แต่กระนั้นสมาธิของคนเราก็อาจไม่คงที่ ในบางช่วงเวลา เราอาจไม่มีสมาธิ ในการเรียน เพราะเราหมกมุ่นกับเรื่องอื่นๆ เช่น คิดถึงเกมที่เล่นค้างอยู่ หรือ ใจลอยคิดถึงแฟน จนกระทั่งลืมจดจ่อกับ งานตรงหน้า หรือ เราชอบทำหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน เช่น ขณะที่ฟังครูสอน ก็อยากอ่านการ์ตูน หรือ อยากวาดรูปไปด้วย ความสนใจของเราก็จะกระโดดไปมาจากเรื่องโน้นไปเรื่องนี้ และไม่สามารถติดตามการเรียนได้ต่อเนื่อง บางครั้งเมื่อ เราเจ็บป่วย หิว หรือง่วงนอน สมองเราก็จะซึมเศร้า ไม่รับข้อมูลใดๆที่ครูสอน ยามใดที่เรามีเรื่องเครียด กังวลใจ เราก็จะคิดวนเวียนแต่ปัญหานั้น และไม่มีจิตใจจะจดจ่อกับการเรียน และแม้ว่าเราจะมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะอ่านหนังสือ แต่ เมื่อมีเสียงดังรบกวน เราก็จะเริ่มหงุดหงิด ไม่สามารถอ่านหนังสือต่อไปได้

สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสมาธิ ได้แก่

– หาสถานที่สงบ ปราศจากเสียงรบกวนในการศึกษาหาความรู้ อาจหามุมสงบในการทำการบ้าน ที่ไม่มีเสียงทีวี วิทยุ หรือคนกาลังพูดคุยกันให้รบกวนสมาธิ

– หลีกเลี่ยงแสงสว่างที่เจิดจ้าแยงตา หรือแสงที่ริบหรี่ ในขณะที่อ่านหนังสือ ถ้าใช้โคมไฟอ่านหนังสือ ควรให้โคมไฟอยู่ด้านซ้ายมือ และมีความสว่างพอเพียง

– เลือกเวลาดูหนังสือในขณะที่ร่างกายกระปรี้กระเปร่า เช่น การอ่านหนังสือในช่วงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายได้ พักผ่อนเต็มที่และสมองปลอดโปร่ง ย่อมมีสมาธิดีกว่าอ่านหนังสือในช่วงดึกที่ร่างกายอ่อนล้าแล้ว ปัจจัยภายใน คือ สุขภาพร่างกายและจิตใจ และอุปนิสัยในการทำงาน

สุขภาพร่างกายและจิตใจ

สุขภาพร่างกายและจิตใจคืออุปกรณ์ในการเรียนรู้ เราย่อมไม่สามารถใส่ใจหรือจดจ่อกับการทำงานได้ หากเรารู้สึกไม่สบายกาย หรือจิตใจไม่สดชื่นแจ่มใสพอ เราควรเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมใช้ในการเรียนรู้ โดย – สร้างแรงจูงใจในการเรียน ด้วยการนึกถึงประโยชน์ และคุณค่าจากการเรียนรู้สิ่งต่างๆวาดภาพความสำเร็จและ เป้าหมายการศึกษาในอนาคต แล้วบอกตัวเองให้มุ่งมั่นตามเป้าหมายนั้น

การฝึกฝนเหล่านี้ เริ่มลงมือฝึกทันที ก็จะพบว่า ไม่ใช่สิ่งที่ยากที่จะทำ หากคนใดบอกว่า “ยากทำไม่ได้หรอก” มันอาจจะยากก็ตรงที่เราไม่ได้ลงมือกระทำสักที และปล่อยให้ความขี้เกียจมาครอบงำชีวิตเรา การฝึกสร้างสมาธิจะเป็น พื้นฐานเบื้องต้นในการสร้างอุปนิสัยการเป็นผู้ชนะ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการชนะใจตนเองนั่นเอง

ที่มา : รวิวรรณ ศรีสุชาติ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

Related Images: